บริการของเรา
บริการรักษาภาวะมีบุตรยาก
บริการรักษาภาวะมีบุตรยาก
.......................................................................................................................................................................................
การตรวจคุณภาพของน้ำอสุจิ
เป็นการตรวจดูปริมาณน้ำอสุจิ จำนวนตัวอสุจิ ประสิทธิภาพและเปอร์เซ็นต์ตัวอสุจิที่เคลื่อนไหว ตลอดจนการย้อมสีพิเศษเพื่อดูเปอร์เซ็นต์ตัวอสุจิที่พิการ
การคัดเชื้ออสุจิและการฉีดเชื้อผสมเทียม ( IUI )
หมายถึง การนำน้ำเชื้ออสุจิมาเตรียมเพื่อคัดกรองแยกแต่ตัวอสุจิที่ปกติและแข็งแรง ก่อนนำไปฉีดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกของสตรี ในช่วงเวลาที่มีไข่ตก เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่กับเซลล์อสุจิ โดยมีอัตราการตั้งครรภ์ประมาณ ร้อยละ 15-25 ต่อรอบเดือน ซึ่งหากฉีดเชื้อต่อเนื่องกัน 3-6 รอบเดือน จะมีอัตราสำเร็จสะสมของการตั้งครรภ์ประมาณ ร้อยละ 50-60 ได้ ในคู่สมรสที่ตรวจไม่พบสาเหตุ หรือได้รับการรักษาสาเหตุแล้ว
การทำเด็กหลอดแก้ว ( IVF )
คือ การนำไข่และเชื้ออสุจิมารวมกัน ในจานเพาะเลี้ยงตัวอ่อน เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนเลี้ยงตัวอ่อนต่อเป็นเวลา 3 วันจะได้ตัวอ่อนในระยะ 8 เซลล์ หลังจากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่เกิดขึ้นใส่กลับเข้าในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
การทำอิกซี่ ( ICSI )
คือ การฉีดตัวอสุจิเพียงตัวเดียวเข้าไปในเซลล์ไข่ เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิ แล้วทำการเลี้ยงตัวอ่อนตามกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วต่อไป ใช้ในรายที่ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิน้อยหรือไม่แข็งแรง
บลาสโตซีสท์ (Blastocyst Culture & Transfer )
ภายหลังที่ไข่และเชื้ออสุจิเกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนในจานเพาะเลี้ยงตัวอ่อน หากเลี้ยงตัวอ่อนต่อเป็นเวลา 5-6 วันจะได้ตัวอ่อนในระยะ บลาสโตซิสท์ หลังจากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่เกิดขึ้นใส่กลับเข้าในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยเชื่อว่าจะทำให้มีอัตราสำเร็จของการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น
การเจาะเก็บตัวอสุจิด้วยวิธี PESA หรือ TESA
ในรายที่สามีไม่มีตัวเชื้ออสุจิเนื่องจากท่ออสุจิมีการอุดตัน แพทย์สามารถหาตัวอสุจิได้โดยเทคนิค PESA หรือ TESA
PESA คือ การใช้เข็มเล็กๆแทงผ่านผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา
TESA คือ การใช้เข็มเล็กๆแทงผ่านผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะเข้าไปในเนื้อของลูกอัณฑะ แล้วดูดเอาเนื้อมาแยกหาตัวอสุจิต่อไป
เมื่อแยกตัวอสุจิมาไว้ในน้ำเพาะเลี้ยงแล้ว จะนำไปใช้ทำอิ๊กซี่ต่อไป
การแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo cryopreservation)
ในกรณีที่มีตัวอ่อนเกินเหลือใช้ หรือไม่สามารถใส่ตัวอ่อนในรอบกระตุ้นได้ สามารถเก็บแช่แข็งตัวอ่อนไว้ก่อน แล้วเตรียมผนังมดลูกใหม่เพื่อใส่ตัวอ่อนในภายหลังได้
การแช่แข็งตัวเชื้ออสุจิ ( Sperm Bank )
ในบางกรณีที่สามีมีความจำเป็นไม่อยู่ให้เชื้ออสุจิ สามารถเก็บอสุจิแช่แข็งไว้ใช้ในภายหลังได้ หรืออาจแช่แข็งอสุจิไว้ใช้ในอนาคต ก่อนทำหมัน ก่อนให้ยาเคมีบำบัด หรือก่อนฉายรังสี รวมทั้งในกรณีเก็บแช่แข็งอสุจิบริจาคด้วย
การใช้ไข่บริจาค (Donor oocyte )
ในรายที่ฝ่ายหญิงมีไข่น้อย ไม่เพียงพอ ไม่มีไข่ หรือถูกตัดรังไข่ทิ้ง สามารถทำให้ตั้งครรภ์ได้โดยใช้ไข่บริจาคจากหญิงอายุน้อย ดังแสดงในรูป
ให้คำปรึกษาและแนะนำการอุ้มบุญ
ในรายที่ฝ่ายหญิงไม่มีมดลูกหรือมดลูกมีความผิดปกติ ไม่สามารถอุ้มครรภ์ได้ แพทย์สามารถทำให้ตั้งครรภ์ได้โดยฝากตัวอ่อนให้หญิงอื่นอุ้มแทนได้ ดังแสดงในรูป
ให้คำปรึกษาและแนะนำการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน (PGS/PGD)
ปัจจุบัน การแพทย์สามารถใช้เทคโนโลยีตัดเอาบางเซลล์ของตัวอ่อนในระยะ 8 เซลล์ หรือระยะบลาสโตซิสท์ แล้วนำไปตรวจวิเคราะห์หาเพศ และลักษณะทางพันธุกรรมของตัวอ่อนได้ ก่อนทำการย้ายฝากตัวอ่อนเข้าในโพรงมดลูก ทำให้สามารถคัดเลือกย้ายฝากเฉพาะตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมปกติเท่านั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในครอบครัว มารดาสูงอายุ และผู้ป่วยที่ประสบความล้มเหลวในการทำเด็กหลอดแก้วมาแล้วหลายครั้ง การที่สามารถเลือกย้ายฝากเฉพาะตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมปกตินี้จะทำให้เพิ่มอัตราสำเร็จของการตั้งครรภ์ได้
ให้คำปรึกษาและแนะนำการเลือกเพศบุตร
• วิธีเดิมๆเพื่อเพิ่มโอกาสให้ได้ลูกเพศชายมากกว่า
o ทานอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง
o มีเพศสัมพันธ์ใกล้เวลาไข่ตก
o หลั่งในช่องคลอดลึกๆ
o งดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 7 วันก่อนวันไข่ตก
• วิธีเดิมๆเพื่อเพิ่มโอกาสให้ได้ลูกเพศหญิงมากกว่าo ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
o มีเพศสัมพันธ์ในวันไข่ตก
o มีเพศสัมพันธ์บ่อยๆก่อนวันไข่ตก
• ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการเลือกเพศบุตรโดยวิธี1.คัดแยกเชื้ออสุจิ
2.ตรวจหาเพศและพันธุกรรมของตัวอ่อน เพื่อให้ทราบเพศของตัวอ่อนก่อนทำการย้ายฝากตัวอ่อน เข้าในโพรงมดลูก
การรักษาภาวะแท้งบุตรง่าย
บริการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
บริการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
• การส่องตรวจวินิจฉัยผ่านกล้องทางนรีเวช
มี 2 ช่องทาง คือ1. การส่องตรวจวินิจฉัยผ่านกล้องทางหน้าท้อง เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติที่เป็นสาเหตุในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน และยังสามารถผ่าตัดแก้ไขผ่านกล้องได้ด้วย เช่น ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกมดลูก และพังผืดในอุ้งเชิงกราน
2. การส่องตรวจวินิจฉัยผ่านกล้องทางปากมดลูก และผ่าตัดแก้ไขสิ่งผิดปกติที่เป็นสาเหตุในโพรงมดลูก เช่น พังผืด เนื้องอก ความผิดปกติของผนังมดลูก ฯลฯ
บริการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์
บริการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์
• เป็นการตรวจและดูแลสุขภาพของมารดาและทารกระหว่างตั้งครรภ์ เฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนดูแลการคลอด เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของมารดาและทารกหลังคลอด